เปิดรับบทความด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นต่อไปนี้
คลี่
การคลี่ออกของแนวคิดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง พลวัต พัฒนาการของมานุษยวิทยาสังคมวิทยา การคลี่ให้เห็นความเชื่อมโยงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นั้บตั้งแต่ยุคสงครามเย็นความเป็นท้องถิ่น สู่การข้ามแดน
คลาย
การเผยตัว การรื้อสร้างความเข้าใจสังคมในปัจจุบัน สู่การก้าวข้ามมุมมองดั้งเดิมสู่การมองทะลุกรอบแนวคิดไปสู่การทำความเข้าใจสังคมในยุคสังคมโลกปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน การคลายยังแสดงให้เห็นมิติของความยืดหยุ่น การเกิดขึ้นของมิติความสัมพันธ์ในโลกออนไลน์ และความสัมพันธ์แบบ Social Distance อยู่ใกล้กันแต่รักษาระยะห่างทำให้เราต้องทำความเข้าใจสังคมในรูปแบบใหม่อยู่เสมอ
ญ่าย
ญ่าย เป็นคำในภาษาอีสาน หมายถึง การกระจายตัว ในที่นี้หมายถึง การย้ายถิ่นฐาน การเคลื่อนย้าย ไปมาของผู้คน การเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ของผู้คน คนพลัดถิ่น คนโพ้นทะเล เช่น อีสานโพ้นทะเล ภาวะความกลัวและความเกลียดชังด้านชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในช่วงภัยพิบัติ แสดงให้เห็นมุมหนึ่งของการญ่าย ในขณะเดียวกัน การญ่ายก็เผยให้เห็นมิติทางเศรษฐกิจที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวท้องถิ่นตนเอง และเมื่อต้องญ่ายกลับก็ทำให้เห็นผลกระทบในอีกรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งการลดทอนการเป็นท้องถิ่น (De-localization) หรือ การลดทอนความเป็นอาณาบริเวณ (De-territorialization)
เคลื่อน
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจะขับเคลื่อนสังคมอย่างไรไปในอนาคต ท่ามกลางวิกฤตการเมือง วิกฤติสถานการณ์ภัยพิบัติ มิติแนวคิดใหม่ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และแนวคิดแบบบูรณาการที่เชื่อมประสานศาสตร์อื่นๆ เข้ามาจะช่วยให้สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาถูกนำไปใช้ประโยชน์ในฐานะที่เป็นหลักคิดทางการพัฒนาได้อย่างไร การประสานเครือข่ายความร่วมมือในภาคส่วนต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องเปิดใจ และมีความเข้าใจและใช้หลักการการอยู่ร่วมกันโดยปราศจากความรุนแรง และใช้สันติวิธี

ประเด็นหลัก
Theme
นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม
(ทุ่ง-ท่า-ป่า-เขา)
ได้แก่ ประเด็นประเด็นที่เกี่ยวกับทรัพยากร แม่น้ำโขงกับการพัฒนา/ Landscape Anthropocene/ การจัดการภัยพิบัติ/นิเวศวิทยาการเมือง/ การเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสิ่งแวดล้อม
Spirit
(ขวัญ- ที่- ผี-พระ)
ได้แก่ วัฒนธรรมการเมือง และความเชื่อ ที่เกี่ยวกับ พระ ผี จิตวิญญาณ ความเชื่อ / เวลา ยาม/ นาค
วัฒนธรรม
(ฮีตคอง- ไทบ้าน- ขาเลาะ)
ได้แก่ วัฒนธรรมแบบประเพณี วัฒนธรรมพื้นถิ่น และวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น อีสานโพ้นทะเล เขย-เมียฝรั่ง / Isan Pop Culture (อีสานซิ่ง รถแห่ วัฒนธรรมแบบกึ๊กๆกั๊กๆ เต้นหน้าฮ้าน ภาษา ม่วนซื่นโฮแซว)/ Isan Mobility ขาเลาะ/ ผู้เฒ่า (Active Aging, เฒ่าเทคโนฯ)/ วัฒนธรรมสุขภาพ (อยู่ดีมีแฮง) หรือ (อยู่ดีมีสุข) การเชื่อมกับคนภูมิภาคแม่น้ำโขงทางวัฒนธรรม
การเมือง
(โสตาย-ไฝว้-รัฐ)
ได้แก่ประเด็นการเมืองเรื่องของการต่อสู่ต่อรอง เช่น Post Colonial/ Cosmopolitanism/ Identity Politic/ แรงงานข้ามชาติ/ กบฏอีสาน กบฏในทุกภาคประเทศไทย/ การเมืองเรื่องสุขภาพและชนชั้นและความเหลื่อมล้ำ เช่น โควิด-19 ระบาดวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ
(เฮ็ดอยู่/เฮ็ดขาย)
ได้แก่ประเด็นที่เกี่ยวกับ เศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector)/ ตลาด/ ผู้ประกอบการใหม่/ ความยากจนค้นแค้น/ทางเลือกทางรอดของคนจน และ ชนชั้นกลางระดับล่าง/คนรวยกับ privacy และการเข้าถึง
นวัตกรรม วิธีวิทยา จริยธรรมการวิจัย (แนวส้าง-ม่างแปง)
ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับ วิธีวิทยา / จริยธรรมการวิจัย/ นวัตกรรมการวิจัยและการพัฒนา/การวิจัยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดิจิตัล
ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวกับ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในมิติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมในโลกออนไลน์ / social and physical distancing ในบริบทโรคระบาด